วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

บทที่ 9 การสร้างแบบ วีดีโอ



รูปที่ 2.98ใช้งานวีดีโอ ถูกนำเข้ามาใช้แทนการเสนอแบบเดิมเช่น แผ่นใส หรือสไลด์หรือสไลด์
เราสามารถสร้างไตเติ้ลใส่ดนตรีประกอบพากษ์เสียงบรรยายและใส่เทคนิคพิเศษต่างๆ
ลงไปในงานวีดีโอที่ถ่ายมาโดยคลิกปุ่มไม่กี่ปุ่มเท่านั้นเอง ซึ่งเราจะได้เรียนรู้วิธีการเหล่านี้ในบท
ต่อๆไป                           

รูปที่ 2.99กล้องวีดีโอปัจจุบันราคาต่ำลงมากและสามารถเป็นเจ้าของได้ไม่ยาก
ทำสื่อการสอนเพื่อการศึกษา
คุณครูสามารถสร้างสื่อการสอนในรูปแบบวีดีโอได้เช่นสื่อการสอนสนทนาภาษาอังกฤษ คุณครูอาจสัมภาษณ์ชาวต่างชาติที่มาอยู่ในเมืองไทยหรือจัดทำเป็นวีดีโอสอนวิธีใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เป็นต้น



รูปที่ 2.100ใช้งานวีดีโอมาช่วยในการสร้างสื่อ การสอน
นำเสนอรายงาน วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยต่างๆ
เปลี่ยนวิธีนำเสนอรายงานจากการใช้เพียงภาพประกอบ แผ่นชาร์ต หรือแผ่นใส มานำเสนอในรูปแบบของวีดีโอก็จะทำให้ผู้ฟังบรรยายได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น และเกิดความเข้าได้ง่าย น่าสนใจกว่าการนำเสนอที่มีแต่ข้อมูลและภาพนิ่งเพียงอย่างเดียว
วีดีโอสำหรับบุคคลพิเศษ
บุคคลพิเศษในที่นี้อาจหมายถึงวิทยากรที่เราเชิญมาบรรยายผู้จัดการที่กำลังจะเกษียณอายุ เจ้าของวันเกิด คู่บ่าวสาว เพื่อเป็นการให้เกียรติและสร้างความประทับใจให้กับเจ้าของงาน และยังช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีไม่น้อย    



รูปที่ 2.101ตัวอย่างการจัดทำวีดีโอให้สำหรับงานแต่งให้กับคู่บ่าวสาว
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เรามองเห็นความสำคัญของงานวีดีโอมากขึ้น และได้รู้ว่าการทำวีดีโอนั้น ไม่ได้ลงทุนมากและยุ่งยากในการทำอย่างที่คิด


แนวคิดในการสร้างงานวีดีโอ
ก่อนที่เราจะลงมือสร้างผลงานวีดีโอสักเรื่องหนึ่งสิ่ง
ที่ไม่ควรทำก็คือการลงมือไปถ่ายวีดีโอแล้วนำมาตัดต่อเลย
โดยไม่ได้คิดให้ดีก่อนว่าจะถ่ายทำอย่างไรบ้างเพราะ
ปัญหาที่มักเกิดขึ้นเสมอก็คือ การไม่ได้ภาพตามที่ต้องการ
เนื้อหาที่ถ่ายมาไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ 
ในส่วนนี้จึงขอแนะนำแนวคิดในการทำงานวีดีโออย่าง
มีประสิทธิภาพตรงตามความต้อง ไม่ต้องมาแก้ไขภายหลัง
โดยมีลำดับแนวคิดในการสร้างสรรค์งานวีดีโอเบื้องต้นดังนี้
                                                                            รูปที่ 2.102แนวคิดในการสร้างงานวีดีโอ
ระบบโทรทัศน์ในปัจจุบัน
เนื่องจากงานวีโอส่วนใหญ่ที่เราตัดต่อเรียบร้อยแล้วมักจะต้องนำไปเปิดกับโทรทัศน์
เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจเรื่องระบบของโทรทัศน์กันพอสมควร



รูปที่ 2.103ระบบโทรทัศน์ปัจจุบัน
ระบบโทรทัศน์ที่ใช้อยู่ทั่วไปในโลกนี้มีอยู่ 3 ระบบด้วยกัน ได้แก่
▪ระบบ PAL  เป็นระบบที่มีความคมชัดค่อนข้างสูง แต่การเคลื่อนไหวของภาพจะไม่ราบรื่นเท่ากับระบบอื่น ความเร็วในการแสดงผล (Frame Rate) อยู่ที่ 25 เฟรมต่อวินาที ประเทศที่ใช้ระบบนี้ได้แก่ ประเทศแถบยุโรป แอฟริกาใต้ และเอเชียบางประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย
▪ระบบ NTSC เป็นอีกระบบหนึ่งที่มีความนิยมสูง แม้จะมีความชัดสู้ระบบ PAL ไม่ได้ แต่การเคลื่อนไหวจะราบรื่นกว่า การแสดง Frame Rate อยู่ที่ 29.79 เฟรมต่อวินาที นิยมใช้ในแถบประเทศอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น
▪ระบบ SECAM เป็นระบบที่ใช้กันอยู่ในแถบแอฟริกาเหนือ ประเทศโซนตะวันออกกลางและ
ฝรั่งเศส  การแสดง   Frame Rate  อยู่ที่ 25 เฟรมต่อวินาที เช่นกัน มีความคมชัดสูง
และการเคลื่อนไหวของภาพราบรื่น
ความละเอียดของภาพ (Resolution  )
ความละเอียดของภาพคือส่วนที่บอกว่าวีดีโอของเราที่ออกมานั้นจะมีคุณภาพ และความคมชัดมากน้อยเพียงใด ค่า Resolution  นี้จะเป็นตัวเลขแสดงขนาดความยาวต่อความกว้างของหน้าจอ ซึ่งจะมีขนาดแตกต่างกันออกไปดังต่อไปนี้
ลักษณะงาน Resolution (ความยาว x ความกว้าง)
VCD 352 x 288 (PAL) , 352 x 240 (NTSC)
SVCD 480 x 576 (PAL),  480 x 480 (NTSC)
DVD 720 x 576 (PAL), 720 x 480  (NTSC)





รูปที่ 2.104ความละเอียดของภาพ



รูปที่ 2.105เขียน Storyboard รูปที่ 2.106 เตรียมองค์ประกอบต่างๆ




รูปที่ 2.107  ตัดต่องานวีดีโอ รูปที่ 2.108ใส่เอฟเฟ็กต์ตัดต่อเสียง

รูปที่ 2.109แปลงวีดีโอ เพื่อนำไปใช้งานจริง

ขั้นตอนที่ 1 การเขียน Storyboard
สิ่งแรกที่เราควรเรียนรู้ก่อนสร้างงานวีดีโอก็คือ การเขียน Storyboard ซึ่งก็คือ การจินตนาการฉากต่างๆ ขึ้นมาก่อนที่จะไปถ่ายทำจริง สำหรับการทำภาพยนตร์ทั่วไปนั้นจะมีการเขียน Storyboard ก่อนเสมอ เพื่อจะทำให้ฉากและภาพที่มีองค์ประกอบต่างๆตรงตาม
ความต้องการมากที่สุด และเพื่อป้องกันการตกหล่นในระหว่างถ่ายทำ เพราะถ้าต้องมาถ่ายซ่อม
ทีหลังนั้นก็ไม่สะดวก







รูปที่ 2.110ลองวาด Storyboard อย่างง่ายๆ เพื่อกำหนดลำดับฉาก และมุมกล้องที่ต้องการ
ในการเขียน Storyboardของเรานั้นอาจจะใช้วิธีง่ายๆไม่จำเป็นต้องถึงขนาดวาดภาพก่อนเพียงแค่เขียนวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจนว่าต้องการสื่ออะไร หรือเป็นงานประเภทไหน จากนั้น
ดูว่าเราต้องการภาพอะไรบ้าง เขียนออกมาเป็นฉากๆ เรียงลำดับ 1,2,3,4ไปเรื่อยๆ
ตัวอย่างเช่น ถ้าเรารับอาสาไปถ่ายวีดีโองานแต่งงาน เราก็ควรจะไปคุยกับเจ้าภาพงานเสียก่อนว่าจะมีกิจกรรมอะไรที่สำคัญบ้าง  ในช่วงเวลาใด จากนั้นเราก็มาสรุปว่าจะต้องถ่ายภาพบรรยากาศอะไรภายในงานบ้าง ซึ่งจะทำให้เราได้ภาพบรรยากาศครบถ้วน ตรงตามวัตถุประสงค์ทั้งหมด

ขั้นตอนที่ 2 เตรียมองค์ประกอบต่างๆที่ต้องใช้
ในการทำงานวีดีโอเราจำเป็นต้องเตรียมองค์ประกอยต่างๆไม่ว่าจะเป็นไฟล์วีดีโอ
ไฟล์เสียงดนตรีให้พร้อม เพื่อช่วยให้การทำงานของเรารวดเร็วยิ่งขึ้น




รูปที่ 2.111เตรียมวัตถุดิบโดยการลง มือถ่ายทำ
ไฟล์วีดีโอจากภาพยนตร์ สารคดีหรือ ข่าว
หากเรามีภาพยนตร์ สารคดีหรือข่าว เราสามารถนำมาใช้ตัดต่อได้โดยอาจจะต้องมีการแปลงไฟล์บ้างเช่น ถ้าเป็นภาพยนตร์ที่มาจากแผ่นวีซีดีหรือดีวีดี ก็นำมาแปลงเป็นไฟล์
ที่สามารถใช้ตัดต่อได้เสียก่อน  ซึ่งในโปรแกรม VideoStudiov.11 ก็มีฟังก์ชันช่วยในการแปลงภาพยนตร์เหล่านี้ด้วย
ส่วนสารคดีหรือข่าวที่อยู่ในโทรทัศน์ เราก็สามารถนำมาใช้ได้โดยการ
ต่อสายสัญญาณออกจากทีวีมาเข้าที่การ์ดสำหรับนำเข้าวีดีโอในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา แล้วทำการบันทึก

การถ่ายทำวีดีโอเอง 
แหล่งข้อมูลที่สำคัญที่สุดคือการไปถ่ายทำเอง เมื่อได้จัดทำ Storyboard เรียบร้อย
ก็ลงมือถ่ายทำได้เลย

การเตรียมไฟล์เสียงและการบรรยาย
องค์ประกอบต่อมาก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของเสียง เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจงานวีดีโอของเราดนตรีที่ใช้ในงานวีดีโอนั้นอาจได้มาจากไฟล์ MP3
ที่เรามีอยู่ก็ได้ ส่วนเสียงบรรยายนั้นเราต้องบันทึกลงไปในคอมพิวเตอร์เอง
ขั้นตอนที่3 การตัดต่อวีดีโอ (ให้สอดคล้องกับ Storyboard)
ขั้นต่อมาก็คือการนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นวีดีโอ งานวีดีโอจะออกมาดีน่าสนใจเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับการตัดต่อเป็นสำคัญ





รูปที่ 2.112การตัดต่อวีดีโอโดยใช้โปรแกรม VideoStudio v.11
ขั้นตอนที่ 4 ใส่เอฟเฟ็กต์/ตัดต่อสียง
ก่อนที่จะจบขั้นตอนการตัดต่อ เราควรตกแต่งงานวีดีโอด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความ หรือเสียงดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานเรามีสีสัน และน่าติดตามมากขึ้น
ขั้นตอนที่ 5 แปลงวีดีโอเพื่อนำไปใช้งานจริง
ขั้นตอนสุดท้ายในการทำงานวีดีโอก็คือ การทำงานที่เราได้ทำเรียบร้อยแล้วนั้นไปใช้งาน ซึ่งในโปรแกรมVideoStudiov.11นั้น สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็น วีซีดี ดีวีดี หรือ
เป็นไฟล์ WMV สำหรับนำเสนอทางอินเทอร์เน็ต




รูปที่ 2.113ผลงานที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบ


เครื่องมือสำหรับงานตัดต่อวีดีโอ
ก่อนเริ่มลงมือนำเข้าวีดีโอเข้ามาในเครื่อง และเริ่มตัดต่อไฟล์วีดีโอด้วยโปรแกรม Ulead  VideoStudiov.11ส่วนนี้เป็นอุปกรณ์ต่างๆที่เราควรเตรียมให้พร้อมสำหรับงานตัดต่อวีดีโอ
เครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมในการนำมาใช้สำหรับตัดต่อวีดีโอควรมีสเป็คเครื่องขั้นต่ำดังนี้


รูปที่ 2.114คอมพิวเตอร์
ซีพียู แนะนำ Pentium 3 ความเร็ว 700MHzขึ้นไป
แรมหรือหน่วยความจำ ขนาด 256 MB ขึ้นไป (แนะนำว่าควรใช้ที่มีขนาด 512 MB 
เป็นอย่างต่ำ เพื่อให้การตัดต่อวีดีโอทำได้รวดเร็วขึ้น)
ฮาร์ดดิสก์ 600MB สำหรับการติดตั้งโปรแกรม Ulead  VideoStudiov.11และ5 GB สำหรับ
ใช้เก็บไฟล์วีดีโอสำหรับการตัดต่อ (ขนาดของพื้นที่ว่างที่ต้องการจะขึ้นอยู่กับความยาวของวีดีโอ
ที่เราต้องการนำมาตัดต่อยิ่งยาวมาก พื้นที่ฮาร์ดดิสก์ก็ต้องมากขึ้น  เพื่อจะเพียงพอในการจัดเก็บข้อมูล)  ระบบปฏิบัติการ แนะนำให้ใช้ Windows XP หรือ Windows 2000 และเลือกสร้างระบบจัดเก็บไฟล์บนฮาร์ดดิสก์เป็น NTFS เพื่อสามารถทำงานร่วมกับไฟล์วีดีโอที่มีขนาดใหญ่เกิน 
4 GB ได้
กล้องถ่ายวีดีโอ
อุปกรณ์ชิ้นต่อมาที่เป็นหัวใจหลักของงานวีดีโอก็คือ กล้องถ่ายวีดีโอนั้นเองในอดีตกล้องถ่ายวีดีโอมีราคาหลักแสนบาทขึ้นไปแต่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้ทำให้กล้องถ่ายวีดีโอราคาถูกลงมาเหลือราคาเริ่มต้นเพียงแค่หมื่นกว่าบาทเท่านั้นซึ่งหาซื้อได้ทั่วไป


รูปที่ 2.115กล้องวีดีโอสำหรับบันทึกภาพวีดีโอเพื่อใช้ในงานตัดต่อ
การ์ดแคปเจอร์ หรือการ์ดจับภาพวีดีโอ
เนื่องจากเราจำเป็นต้องนำภาพวีดีโอที่ถ่ายมาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ เพื่อผ่านกระบวนการตัดต่อแต่เราไม่สามารถที่จะนำวีดีโอจากกล้องเข้ามาที่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรงได้ จำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยเป็นเสมือนสื่อกลางในการส่งถ่ายข้อมูล อุปกรณ์ตัวนั้นเราเรียกว่า การ์ดแคปเจอร์ (Capture Card)

ด้วยการ์ดแคปเจอร์ เราสามมารถแปลงวีดีโอ
จากกล้องวีดีโอเครื่องเล่นวีดีโอหรือแม้แต่
รายการทีวีมาที่คอมพิวเตอร์ได้

รูปที่ 2.116การ์ดแคปเจอร์
การ์ดแคปเจอร์ในปัจจุบันมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน  มีทั้งแบบติดตั้งภายในคอมพิวเตอร์ และแบบภายนอก หารเรามีการ์ดแคปเจอร์ก็สามารถแปลงวีดีโอมาเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่า
จะเป็นภาพจากกล้องวีดีโอ จากเครื่องเล่นวีดีโอเทป หรือแม้แต่ต้องการอัดรายการโปรดของเรา
ที่ออกอากาศทางทีวีได้

โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ  
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการตัดต่อวีดีโอก็คือ โปรแกรมสำหรับตัดต่อ ปัจจุบันมีโปรแกรมสำหรับตัดต่อเป็นจำนวนมาก มีทั้งแบบมือสมัครเล่นและแบบมืออาชีพเพื่อรองรับการทำงาน
ที่หลากหลายมากขึ้นซึ่งจะขอยกตัวอย่างบางโปรแกรมดังนี้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น